ในช่วงสมัยที่กรุงศรีอยุธยายังเป็นย่านชุมชน ได้พบหลักฐานที่ประกอบไปด้วยสิ่งปลูกสร้างทั้งวัดวาอารามและป้อมปราการต่างๆ ที่สร้างขึ้นมากมายหลายแห่ง รอบๆ ชุมชน ซึ่งเป็นแหล่งชุมชนทีมีคูคลองและแม่น้ำหลายสายเข้ามาบรรจบกันกระทั่งมีลักษณะเป็นปากคลอง ต่อมาในสมัยกรุงธนบุรี ก็ได้กลายมาเป็นจุดนัดพบของผู้คนที่สัญจรทางน้ำ มีการค้าขายหรือแลกเปลี่ยนสิ่งของซึ่งกันและกัน
เมื่อสู่ยุคสมัยของกรุงรัตนโกสินทร์ก็ได้เป็นตลาดการค้าปลาที่มีขนาดใหญ่ที่ส่งตรงมาจากแม่น้ำท่าจีน (จังหวัดสมุทรสาคร) แล้วส่งสินค้า (ปลา) ผ่านมาทางแม่น้ำเจ้าพระยา รวมทั้งสินค้าประเภทอื่นๆ ด้วย มีบันทึกกล่าวไว้ว่า ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลองหลายสายโดยริเริ่มมาตั้งแต่เริ่มสถาปนากรุงเทพมหานคร รวมทั้ง คลองตลาด ซึ่งเป็นคลองเล็กๆ ข้างวัดบูรณศิริอมาตยาราม ด้วย อีกทั้งในย่านที่ไม่ห่างกันนั้น มีคลองที่ขุดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2315 ในช่วงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช มีชื่อเรียกว่า "คลองใน" ซึ่งคลองทั้งสองแห่งนี้เป็นตลาดสดที่เน้นการค้าปลาเป็นหลัก กระทั่งมาถึงรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมหาราช ทรงโปรดเกล้าฯ ที่จะเรียกตลาดแห่งนี้ว่า "ตะพานปลา" ได้ในระยหนึ่ง ก็ได้มีการโยกย้ายตลาดค้าปลาแห่งนี้ไปตั้งอยู่ที่ตำบลวัวลำพอง ย่านหัวลำโพงแทน และแปรสภาพกลายเป็นตลาดสด ค้าขายสินค้าทางด้านการเกษตร อาทิ ผัก ผลไม้ และดอกไม้สดมากระทั่งทุกวันนี้
ปัจจุบัน ปากคลองตลาดประกอบไปด้วยตลาดหลัก 4 แห่งด้วยกัน
โดยส่วนใหญ่จะมีลักษณะเป็นอาคารพานิชย์ สูงได้ 2-4 ชั้น มีการวางสินค้าประเภทต่างๆ และแผงลอย กันสาด กันอย่างแน่นหนา ซึ่งไม่นับรวมตลาดใต้สะพานพุทธ ซึ่งจะเป็นจุดขายเสื้อผ้า ของประดับประดา ของเล่น และอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งจะเป็นเฉพาะช่วงเวลากลางคืนเท่านั้น และหยุดเฉพระวันจันทร์เท่านั้น
ปากคลองตลาด เป็นตลาดสดขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่บริเวณถนนจักรเพชร ยาวไปถึงถนนมหาราช โดยตั้งโอบล้อมวัดราชบูรณะ โรงเรียนราชินี และโรงเรียนสวนกุหลาบ เน้นขายสินค้าทางด้านเกษตรกรรมที่เน้นเป็นตลาดค้าส่ง ผัก ผลไม้และดอกไม้สด ซึ่งติดอันดับที่ 4 ที่เป็นตลาดการค้าดอกไม้ทั่วโลก และยังเป็นตลาดกล้วยไม้ที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลกอีกด้วย
วันที่: Wed Apr 30 17:51:03 ICT 2025
|
|
|